วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิของผมครั้งที่3

บทความรวม
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ  เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทย และประเทศไทย  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต 
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้บริหารและคณะอาจารย์ในกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ  ซึ่งมีทั้งหมด 6 โรงเรียน ได้แก่
1.  โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ
2.  โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ
3.  โรงเรียนโปลีเทคนิคระยอง
4.  โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจกาญจนบุรี
5.  โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ
6.  โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ  ชลบุรี  
ตระหนักถึงความสำคัญของการให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษา และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติจึงจัดตั้ง วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาแห่งใหม่ขึ้นในเขตลาดกระบัง  กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง  489 ถ.ประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทรศัพท์  : 0 2172 9623 - 6
โทรสาร   : 0 2172 9620
ปณิธาน  : พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม มีความสุข รักความเป็นไทย
เนื้อหาการเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตร
1. โครงสร้างหลักสูตร 24 หน่วยกิต (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู)**
1.1 วิชาบรรยาย (Course Work) 24 หน่วยกิต
2. โครงสร้างหลักสูตร 30 หน่วยกิต (สำหรับผู้ไม่ประกอบวิชาชีพครู)**
2.1 วิชาบรรยาย (Course Work) 24 หน่วยกิต
2.2 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 24 หน่วยกิต
1. ระยะเวลาในการศึกษษตลอดหลักสูตร 10 เดือน
2. เรียนวันอาทิตย์ 08.00-18.00 น.
3. ค่าเล่าเรียนตอลดหลักสูตร 25,000 บาท
4. ได้รับเอกสารประกอบการเรียน
5. ศึกษาดูงาน (ถ้ามีไม่รวมค่าใช้จ่ายในค่าเล่าเรียน)
6. คณาจารย์ผู้สอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีตำแหน่งวิชาการ ศ. รศ. ผศ. ดร. ทุกท่าน

สิ่งที่คาดหวัดว่าจะได้รับหลังจากเรียนจบ

1. เมื่อเรียนจบแล้ว สามารถทำความรู้ที่ไปปฎิบัติหน้าที่ในการเรียนการสอนได้
2. ได้รับใบประกอบวิชาชีพครู และเป็นคุณครูได้ในอนาคต
3. ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม
4. ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับเพื่อนรวมห้องเรียน
5.  ได้เรียนรู้และปฏิบัติในสถานศึกษาจริง
6. ได้ความสนุกและได้เจอเพื่อนใหม่
7. สอนได้จริงดังที่เรียนมา




วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553ทฎษฎีทอมัส ฮิวช์

ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกสมัย
           ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน 

          ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไปซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์เทคโนโลยีีหมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)